Open Hour : Mon-Fri 09.00-17.00

Business Continuity Plan

Business Continuity Plan

      

     การเตรียมความพร้อมสำหรับรับมือเมื่อเกิดเหตุการณ์ภัยพิบัติต่างๆ หรือการมีแผนการที่เรียกว่า Business Continuity Plan (BCP) นั้น จึงเป็นอีกกระบวนการหนึ่งที่จำเป็นที่องค์กรควรจะมีการจัดเตรียมไว้สำหรับใช้ในการบริหารจัดการเมื่อเกิดเหตุการณ์ ทั้งนี้ก็เพื่อที่จะกู้คืนสถานการณ์ให้สามารถกลับมาให้บริการได้อย่างใกล้เคียงกับสถานการณ์ปกติมากที่สุด ภายในระยะเวลาและเงื่อนไขที่องค์กรนั้นๆ ยอมรับได้

Business Continuity Plan (BCP) คืออะไร?

          Business Continuity Plan หรือเรียกย่อๆ ว่า BCP คือแผนในการรับมือเหตุการณ์ต่างๆ ที่ธุรกิจอาจต้องหยุดชะงักลง ไม่ว่าจะเป็นเหตุที่ทำให้ธุรกิจหยุดลงเป็นเวลาเพียงไม่กี่ชั่วโมง หรือเป็นเวลาหลายวันก็ตาม และทำให้องค์กรสามารถกลับมาดำเนินธุรกิจต่อเนื่องได้ให้เร็วที่สุด เพื่อให้เกิดความเสียหายต่อลูกค้า, ทรัพย์สิน, ชื่อเสียง และการดำเนินธุรกิจขององค์กรให้น้อยที่สุดนั่นเอง

          ใน BCP ของแต่ละองค์กรก็จะมีลำดับความสำคัญของกิจกรรมต่างๆ ที่แตกต่างกันไป เนื่องจากธุรกิจของแต่ละองค์กรแตกต่างกัน ทั้งรูปแบบการดำเนินธุรกิจ, ข้อมูลที่ใช้ในการทำธุรกิจ, ความฉุกเฉินของธุรกิจ, โครงสร้างองค์กร, รูปแบบของอาคารและสถานที่, อำนาจการตัดสินใจภายในองค์กร และอื่นๆ อีกมากมาย ดังนั้นแต่ละองค์กรจึงมีแผนรองรับที่แตกต่างกัน ภายใต้เป้าหมายเดียวกัน คือการบรรเทาความเสียหายของธุรกิจให้ต่ำที่สุดเมื่อเกิดเหตุต่างๆ และกลับมาดำเนินธุรกิจต่อให้ได้รวดเร็วที่สุด

ความคุ้มค่าของการทำ BCP ในองค์กร

          เมื่อเกิดภัยพิบัติหรือเหตุฉุกเฉินต่างๆ ขึ้น และองค์กรไม่สามารถรับมือได้อย่างเป็นระบบนั้น ความเสียหายต่างๆ ที่เกิดขึ้นก็ย่อมมีมหาศาล บางกรณีองค์กรอาจโชคดี เพียงแค่กู้ข้อมูลคืนเล็กน้อย และซื้ออุปกรณ์ต่างๆ มาทดแทนก็สามารถดำเนินงานต่อได้ แต่บางกรณีองค์กรอาจโชคร้าย ไม่สามารถดำเนินงานต่อได้จนอาจต้องหยุดกิจการชั่วคราว เพราะข้อมูลและเอกสารสำคัญต่างๆ เสียหายจนไม่อาจกู้คืนได้

          ซึ่งในโลกแห่งความเป็นจริง องค์กรไม่สามารถที่จะปล่อยให้ธุรกิจเป็นไปตามโชคชะตาได้ เนื่องจากจะส่งผลกระทบต่อการดำเนินธุรกิจและความไว้วางใจของผู้ใช้บริการหรือลูกค้า ดังนั้น องค์กรจึงต้องมีระบบบริหารจัดการความต่อเนื่องในการดำเนินธุรกิจ เพื่อเตรียมความพร้อมในทุกๆ ด้านให้สามารถรองรับเหตุการณ์ภัยพิบัติ

          นอกจากนี้การทำ BCP เองยังไม่ได้มีประโยชน์เพียงแค่เมื่อเกิดภัยร้ายหรือเหตุฉุกเฉินเท่านั้น แต่ในขั้นตอนการประเมิน BCP ก็จะทำให้องค์กรได้ทบทวนลำดับความสำคัญของระบบงานต่างๆ และค้นหาจุดอ่อนต่างๆ ทำให้สามารถแก้ไขปัญหา หรือหาหนทางในการบรรเทาปัญหาเหล่านั้นลงไปได้ ในขณะเดียวกันการทำ Compliance ตามมาตรฐานธุรกิจต่างๆ ก็มีข้อกำหนดให้ต้องมีการทำ BCP อยู่ด้วยเช่นกัน ดังนั้นองค์กรที่มี BCP นอกจากจะทำให้ธุรกิจมีความมั่นใจในการดำเนินงานต่อไปมากขึ้นแล้ว ก็ยังทำให้คู่ค้าและลูกค้าเกิดความเชื่อมั่นเพิ่มขึ้นอีกด้วย

แผนต่อเนื่องทางธุรกิจ BCP จึงเป็นแผนที่สำคัญ 

ทุกองค์กรมีความเสี่ยงจากภัยพิบัติที่อาจจะเกิดขึ้น รวมถึง

  • ภัยธรรมชาติ เช่น พายุทอร์นาโด  น้ำท่วมสูง  พายุหิมะ  แผ่นดินไหว และไฟไหม้
  • อุบัติเหตุ
  • การก่อวินาศกรรม
  • พลังานน้ำมัน และพลังงานไฟฟ้าหยุดชะงัก
  • การสื่อสาร  การขนส่ง  ความปลอดภัย และความล้มเหลวของภาคบริการสาธารณะ
  • ภัยพิบัติทางสิ่งแวดล้อม เช่น มลพิษและสารเคมีอันตรายที่รั่วไหล
  • การโจมตีไซเบอร์ และพวกแบล็กแฮกเกอร์

การสร้างและการบำรุงรักษา BCP ช่วยให้มั่นใจว่าองค์กรมีแหล่งข้อมูลและข้อมูลที่จำเป็นในการบริหารจัดการกับเหตุภาวะฉุกเฉินเหล่านี้

สร้างเว็บไซต์สำเร็จรูปฟรี ร้านค้าออนไลน์