Open Hour : Mon-Fri 09.00-17.00

จุดสำคัญเพื่อวางแผน BCP พาธุรกิจพ้นวิกฤต COVID-19

จุดสำคัญเพื่อวางแผน BCP พาธุรกิจพ้นวิกฤต COVID-19

          การระบาดของไวรัส Covid-19 ได้สร้างความตื่นตระหนกให้กับผู้คนอย่างเป็นจำนวนมากจนไม่กล้าที่จะออกมาจับจ่ายใช้สอยหรือเดินทางท่องเที่ยวเช่นเคย อีกทั้งนักท่องเที่ยวจากต่างประเทศยังลดลงอย่างต่อเนื่องจากการควบคุมการแพร่ระบาดของโรคทำให้หลาย ๆ องค์กรเริ่มส่งสัญญาณการเปลี่ยนแปลงทางธุรกิจ เช่น การปรับลดจำนวนพนักงาน หรือแม้กระทั่งการปิดกิจการ

1.ปกป้องพนักงานของคุณ
วิกฤตไวรัสโควิด 19 ถือเป็นความท้าทายที่เปลี่ยนวิถีชีวิตของเราไปอย่างที่ไม่เคยเกิดขึ้นมาก่อน กระทบทั้งเรื่องสุขภาพกายและจิตใจ บริษัทควรมี Guideline เพื่อให้ธุรกิจดำเนินต่อไปได้ หลายๆบริษัทเองก็ได้ทำการประเมินและเปรียบเทียบนโยบายที่ใช้รับมือกับโรคระบาดเพื่อให้ได้มาซึ่งนโยบายที่สมบูรณ์และถูกต้องให้กับพนักงาน และบริษัทควรต้องสื่อสารเรื่องนี้กับคนในองค์กรอย่างละเอียดถี่ถ้วนและสม่ำเสมอ

2. สร้างทีมพิเศษเพื่อรายงานสถานการณ์ตรง
สร้างทีมพิเศษเกาะติดสถานการณ์ไวรัสอย่างใกล้ชิด เพื่อรายงานตรงกับผู้บริหาร เช่น CEO โดยเลือกคนจากหลายหน่วยงานเข้ามาดูแล จัดทำ Workstream เพื่อมารองรับดูแลหลายๆด้าน ได้แก่
A) สุขภาพความเป็นอยู่ของพนักงานและสวัสดิการต่างๆ
B) ทดสอบภาวะวิกฤตทางการเงิน (Financial Stress-Testing) และวางแผนฉุกเฉินรับมือเหตุการณ์วิกฤตที่อาจจะเกิดขึ้น
C) บริหารความเสี่ยงและติดตามประเมินผลใน Supply Chain
D) วางแผนการตลาด/การขายเพื่อรับมือหากอุปสงค์ของตลาดเปลี่ยนไปโดยไม่คาดคิด (Demand Shock)

3. ตรวจสอบสภาพคล่องทางการเงินของธุรกิจ
ควรลองสร้าง scenario ทางการเงินหลายๆแบบ และทำแบบจำลองทางการเงิน (Financial Model) สำรวจ cash flow, P&L, balance sheet ตรวจสอบหา Trigger ที่อาจทำให้ธุรกิจขาดสภาพคล่องทางการเงิน วิเคราะห์ Trigger เหล่านั้นเพื่อสร้างความมั่นใจว่าบริษัทจะมีกระแสเงินสดเพื่อพยุงบริษัทไปได้จนกว่าสถานการณ์จะสิ้นสุด

4. สร้างสเถียรภาพให้กับ Supply Chain
ตรวจสอบแหล่งที่มาของ Supply Chain ที่อาจอยู่ในแหล่งแพร่ระบาดของเชื้อไวรัส (ทั้ง Tier 1, 2 และ 3) บริหาร Stock และ Supplier เพื่อให้อุปทานสอดคล้องไปกับอุปสงค์ที่เปลี่ยนไป โดยจะต้องคิดเผื่อไปจนถึงระยะยาวด้วย เช่น การขนส่งสินค้า, การเป็น Top Priority หรือเป็นลูกค้ารายแรกๆของ Supplier, หรือการเริ่มหา Supplier สำรองหรือรายใหม่ๆ

5. เข้าใจลูกค้าอย่างลึกซึ้ง
บริษัทที่ปรับตัวกับ Disruption ได้จะสามารถรับมือกับเหตุการณ์นี้ได้ดีกว่า (เพราะมักจะเป็นบริษัทที่เข้าใจ Core Customer Segment อย่างชัดเจน และสามารถคาดเดาพฤติกรรมของลูกค้าได้) บริษัทต้องทำความเข้าใจลูกค้าให้ลึกซึ้ง โดยพฤติกรรมลูกค้าเปลี่ยนไปมากในช่วงวิกฤตไวรัส COVID-19 เช่น การเติบโตของ Delivery หรือการขายสินค้าออนไลน์ บริษัทเองก็ต้องปรับตัวตามไปด้วย การทำงานแบบสถานการณ์ปกติอาจใช้ไม่ได้ผลในช่วงนี้

6. นำแผนการมาปฏิบัติ
บริษัทส่วนใหญ่มักไม่ได้ลงทุนเวลาให้กับการวางแผนรับมือ Disruption จนกว่าจะตกอยู่ในสถานการ์จริง บริษัทจึงควรวางแผนล่วงหน้า และวางแผนออกมาหลายๆ Scenario รวมถึงกำหนดทีมทำงาน ผู้มีส่วนในการตัดสินใจ และต้องมีการสื่อสารในองค์กรล่วงหน้าให้คนเข้าใจถึง Protocol ต่างๆ

7.แสดงเจตจำนงค์เพื่อสังคมของแบรนด์ให้เห็นชัดเจน
ธุรกิจจะแข็งแรงเติบโตอย่างยั่งยืนเมื่อสามารถสร้างให้ Community โดยรอบโตไปพร้อมกันได้ บริษัทจึงควรมีส่วนร่วมไปกับชุมชนเพื่อผ่านพ้นวิกฤตนี้ไปด้วยกัน เช่น การบริจาคเงิน, อุปกรณ์จำเป็นต่างๆ, หรือความเชี่ยวชาญในด้านต่างๆ ให้กับสังคมเท่าที่จะเป็นไปได้ ซึ่งส่วนนี้จะช่วยสร้างแบรนด์ให้ยั่งยืนในใจผู้บริโภคได้

          แม้เราจะยังมองไม่เห็นจุดจบปลายทางที่ชัดเจนของวิกฤตการณ์ไวรัส COVID-19 แต่สิ่งหนึ่งที่ชัดเจนแน่นอนคือวิกฤตความสูญเสียมากมายต่อมนุษยชาติ บริษัทจึงมีความจำเป็นอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ที่จะต้องดูแลและปกป้องพนักงานอย่างฉับพลันทันที ทำการประเมินและบริหารความเสี่ยง และวางกลยุทธ์รับมือกับความท้าทายทางธุรกิจ เพื่อช่วยกันทำให้วิกฤตในครั้งนี้ลดระดับเบาบางลงได้ในทางใดทางหนึ่ง

 677
ผู้เข้าชม
สร้างเว็บไซต์สำเร็จรูปฟรี ร้านค้าออนไลน์