Open Hour : Mon-Fri 09.00-17.00
  • หน้าแรก

  • Knowledges

  • 5 ขั้นตอน เพื่อไปสู่การบริหารความเสี่ยงระดับองค์กร

5 ขั้นตอน เพื่อไปสู่การบริหารความเสี่ยงระดับองค์กร

  • หน้าแรก

  • Knowledges

  • 5 ขั้นตอน เพื่อไปสู่การบริหารความเสี่ยงระดับองค์กร

5 ขั้นตอน เพื่อไปสู่การบริหารความเสี่ยงระดับองค์กร



             ในปัจจุบัน มีการเปลี่ยนแปลงของสภาพแวดล้อมทางธุรกิจ ที่เกิดจากเหตุการณ์ต่าง ๆ เช่น วิกฤตการณ์ทางการเงินทั่วโลก ซึ่งอดีตเคยมุ่งเน้นเพียงการจัดการความเสี่ยงด้านยุทธวิธีเท่านั้น แต่การบริหารความเสี่ยงระดับองค์กร จะเป็นกรอบงานสำหรับธุรกิจ ในการประเมินความเสี่ยงโดยรวม ทั้งภัยคุกคามและโอกาสการเกิด ดังนั้น การตัดสินใจที่ทันท่วงทีและมีความครบถ้วนจึงเป็นสิ่งที่จำเป็น

และนี่คือ 5 ขั้นตอนในการปรับใช้การบริหารความเสี่ยงระดับองค์กรที่ง่ายและมีประสิทธิภาพ


ขั้นตอนที่ 1 การสร้างโครงสร้างความเสี่ยงขององค์กร

             ในการทำ ERM นั้น องค์กรต้องมีการระบุ สื่อสาร และจัดการความเสี่ยงในเชิงรุก โดยไม่คำนึงถึงตำแหน่ง ทุกคนจำเป็นต้องปฏิบัติตามแนวทางร่วมกัน การกำหนดความเสี่ยงขององค์กรจะแตกต่างจากความเสี่ยงด้านปฏิบัติการ โดยจะเน้นที่กลยุธ์ที่มีผลต่อความเสี่ยงทางธุรกิจ ชื่อเสียง และอื่น ๆ มากกว่าที่จะเน้นเกี่ยวกับกลยุทธ์ด้านผลิตภัณฑ์ สัญญา หรือโครงการต่าง ๆ ซึ่งผู้จัดการด้านชีวอนามัยและความปลอดภัยก็จะระบุความเสี่ยงที่แตกต่างจากผู้จัดการด้านการเงิน  ซึ่งการทำ ERM ก็จะต้องรวบรวมความเสี่ยงในด้านต่าง ๆ เพื่อมองให้เห็นในภาพรวม

             นอกจากความเสี่ยงตามแนวตั้งตามปกติ เช่น องค์กร หน่วยธุรกิจ แผนกต่าง ๆ แล้ว องค์กรยังต้องกำหนดความเสี่ยงในแนวนอนหรือความเสี่ยงจากการทำงาน โดยให้ผู้จัดการในฝ่ายที่ปฏิบัติงาน รับผิดชอบในการกำหนดความเสี่ยง โดยโครงสร้างความเสี่ยงจะต้องสอดคล้องกับโครงสร้างขององค์กรทั้งในแนวตั้ง (การบริหาร) และแนวนอน (การดำเนินธุรกิจ)

ขั้นตอนที่ 2 การมอบหมายหน้าที่ ความรับผิดชอบ

             เมื่อมีการกำหนดโครงสร้างความเสี่ยงขององค์กรที่เหมาะสมแล้ว การมอบหมายหน้าที่ความรับผิดชอบเป็นสิ่งสำคัญที่ควรทำ
             ผู้จัดการในแนวตั้งไม่เพียงแต่รับผิดชอบในการกำหนดความเสี่ยง แต่ยังรับผิดชอบในเรื่องของการบริหารความเสี่ยง โดยความรับผิดชอบจะมีสองส่วน ทั้งส่วนของการเป็นเจ้าของหรือผู้บริหารองค์กร และในส่วนของการเป็นผู้นำของผู้ใต้บังคับบัญชา ตัวอย่างเช่น ผู้จัดการโครงการจะต้องจัดการความเสี่ยงของโครงการของตน และก็ยังต้องรับผิดชอบในการดูแลความเสี่ยงโดยภาพรวมอีกด้วย
             ในด้านงบประมาณ การอนุมติการดำเนินการจัดการความเสี่ยง การสื่อสาร การรายงานการจัดการและการวัดผลการปฏิบัติงานด้านความเสี่ยง จะถูกกำหนดให้เป็นบทบาทหน้าที่ของเจ้าของและผู้บริหาร
           
             ส่วนผู้จัดการในแนวนอน ก็จะมีหน้าที่รับผิดชอบความเสี่ยงที่เกี่ยวข้องกับงานและการปฏิบัติงานของส่วนงานนั้น ๆ 

ขั้นตอนที่ 3 การสร้างแผนผังความเสี่ยงขององค์กร

ในการสร้างแผนผังความเสี่ยงขององค์กร คุณจำเป็นต้องมี :
    • หมวดหมู่ในการสื่อสารข้อมูลอย่างถูกต้อง
    • เครื่องมือที่ช่วยในการกำหนดความสัมพันธ์ของความเสี่ยง
    • ระบบการให้คะแนนที่สอดคล้องกับประเภทของผลกระทบ

ขั้นตอนที่ 4 การตัดสินใจผ่านการรายงานความเสี่ยงขององค์กร

               สิ่งสำคัญที่สุดของการบริหารความเสี่ยง คือการดำเนินการที่เหมาะสมเพื่อจัดการความเสี่ยง อย่างไรก็ตาม คุณไม่สามารถจัดการทุกความเสี่ยงที่ระบุได้  ดังนั้น คุณต้องมีการจัดลำดับความสำคัญ และตัดสินใจว่าจะมุ่งเน้นความสนใจและทรัพยากรไปที่ส่วนใด กระบวนการตัดสินใจจะขึ้นอยู่กับการกำหนดค่าความเสี่ยง  และวัตถุประสงค์
               การรายงานจะช่วยให้ผู้บริหารระดับสูงได้ตรวจสอบความเสี่ยงและแนวโน้มขององค์กร ซึ่งทำได้โดยการรายงานตัวชี้วัดต่าง ๆ เช่น กราฟแสดงความเสี่ยง  

ขั้นตอนที่ 5 การเปลี่ยนวัฒนธรรมสู่วัฒนธรรมองค์กร

               ในทุกระดับขององค์กร  การเปลี่ยนจุดโฟกัสจาก ‘การบริหารความเสี่ยง’ เป็น ‘การจัดการความเสี่ยง’ ถือเป็นความท้าทาย โดยเฉพาะอย่างยิ่งการเปลี่ยนแปลงของทั้งองค์กร ซึ่งเราต้องการให้พนักงานมองไปถึงอนาคต และดำเนินการเพื่อหลีกเลี่ยงความเสี่ยงที่จะเกิดขึ้น นอกจากนี้ยังต้องการให้องค์กรสนับสนุนและให้รางวัลกับการเปลี่ยนแปลงนี้

 306
ผู้เข้าชม
สร้างเว็บไซต์สำเร็จรูปฟรี ร้านค้าออนไลน์